วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

ประวัตินางสาวศรีรัศมิ์ สุวะดี (อดีต หม่อมศรีรัศมิ์ สุวะดี) (บุษบา สุวะดี) พระวรชายา

ประวัติ

พื้นฐานครอบครัวและการศึกษา

ท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ สุวะดี มีชื่อเล่นว่า อี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดห้าคนของอภิรุจ สุวะดี และวันทนีย์ (สกุลเดิม: เกิดอำแพง) พื้นเพเดิมเป็นชาวจังหวัดสมุทรสงคราม[5] บิดาของท่านเป็นชาวตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ส่วนมารดาเป็นชาวมอญจากตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ มีพี่สาวและพี่ชายคือ สุดาทิพย์ ม่วงนวล, ณรงค์ สุวะดีส่วนน้องสาวและน้องชายคือ ปณิดา สุวะดี และณัฐพล สุวะดี อดีตราชองครักษ์เวร ส่วนพลตำรวจโท พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ เป็นน้าของเธอ
ท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ เข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดสุนทรสถิต (สามัคคีวิทยาคม) ในอำเภอบ้านแพ้ว ระดับประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเทศบาลบ้านมหาชัย (อนุกูลราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดน้อยใน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานครภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพจากโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ก่อนจะเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (หลักสูตร 4 ปี) เมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2545 และสำเร็จการศึกษาปริญญาโท หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์) ภาคพิเศษ สาขาวิชาการพัฒนาการครอบครัวและเด็ก คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.94

 


ข้าสู่พระราชวงศ์


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และศรีรัศมิ์ ในปี พ.ศ. 2550 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรชายา
ท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ เริ่มเข้าถวายการรับใช้ในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยรับผิดชอบหน้าที่การงานในฐานะข้าราชการพลเรือนในพระองค์ นอกจากนี้ ยังได้ถวายงานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในด้านศิลปาชีพ และได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ต่อมาเข้ารับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น "หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา" เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
บิดาและมารดาของเธอรวมทั้งสมาชิกในครอบครัวได้รับพระราชทานนามสกุลจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารว่า "อัครพงศ์ปรีชา"เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 หม่อมศรีรัศมิ์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายใน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และได้ประสูติกาลพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พระราชโอรส เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548การนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ลาออกจากฐานันดรศักดิ์

วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงขอให้รัฐบาลริบนามสกุลพระราชทานของพระวรชายา ก่อนหน้านั้น มีการกวาดล้างญาติใกล้ชิดของพระองค์ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการฉ้อ ราษฎร์บังหลวง โดยทั้งหมดกลับไปใช้สกุลเดิมก่อนพระราชทานคือ "เกิดอำแพง" ต่อมาข้อมูลนามสกุลนั้นผิด เมื่อตรวจสอบแล้วจึงเปลี่ยนให้ใช้ชื่อสกุลว่า "สุวะดี" อันเป็นชื่อสกุลเดิมทีแท้จริง ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งสำนักข่าวบีบีซีมองว่า นี่อาจเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การหย่าร้างของทั้งสองพระองค์



วันที่ 12 ธันวาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรง มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นลายลักษณ์อักษรว่าขอพระราชทานกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระ ราชวงศ์ มีผลตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557 การนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานเงิน 200,000,000 บาท แก่ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์เพื่อใช้ในการดำรงชีพและดูแลครอบครัวมีข่าวกระทรวงการคลังยืนยันว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารขอรับเงินพระราชทานจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และยังขอความร่วมมือสื่อมวลชนงดเผยแพร่เอกสารที่ไม่เหมาะสมในสื่อทุกชนิด

วันที่ 13 ธันวาคม สังคมออนไลน์ส่งภาพท่านผู้หญิง ทำบัตรประชาชนใหม่ต่อ ๆ กัน ศรีรัศมิ์ใช้คำนำหน้านามว่า "นางสาว" และเธอได้ย้ายออกจากวังศุโขทัยไปพำนักอยู่ที่บ้านในอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี อย่างไรก็ตามเธอจะมีคำนำหน้านามว่า "ท่านผู้หญิง" เนื่องจากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน) ทั้งนี้ มติชนออนไลน์ ได้ให้ข้อมูลว่าเธอได้ลาออกจากการเป็นข้าราชการทหาร วันที่ 17 ธันวาคม เธอได้เขียนจดหมายขอบคุณสื่อที่ติดตาม และขอปฏิบัติธรรมเงียบ ๆ กับครอบครัวเนื่องจากมีสื่อมวลชนติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดจนรบกวนการปฏิบัติธรรมของเธอ 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น